http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 กล่าวไว้ว่า เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้
คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-4 กล่าวไว้ว่า ในการวางแผนทำวิจัยนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรก ที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น ก็คือ "การกำหนดคำถามของการวิจัย" (Problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหา เป็นส่วนสำคัญของการวิจัย แต่ไม่ได้หมายความว่า ปัญหาทุกปัญหา ต้องทำการวิจัย เพราะคำถามบางอย่าง ใช้ขบวนการในการวิจัย ก็สามารถตอบปัญหานั้นได้
คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม (relevant) หรือสัมพันธ์ กับเรื่องที่จะศึกษา โดยควรมีคำถาม ที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัย ต้องการคำตอบ มากที่สุด เพื่อคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question) ซึ่งคำถามหลักนี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูล ในการคำนวณ ขนาดของตัวอย่าง (sample size) แต่ผู้วิจัย อาจกำหนดให้มี คำถามรอง (secondary research question (s) อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ เป็นคำถาม ที่เราต้องการคำตอบ เช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา โดยผู้วิจัย ต้องระลึกว่า ผลของการวิจัย อาจไม่สามารถ ตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะ การคำนวณขนาดตัวอย่าง ไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรองเหล่านี้ ผู้วิจัย อาจจำเป็นต้องแสดงเหตุผล เพื่อสนับสนุนการเลือก ปัญหาการวิจัยดังกล่าว เพื่อให้โครงร่างการวิจัยนี้ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
http://www.sirirajmedj.com/content.php?content_id=89 กล่าวไว้ว่า การสร้างคำถามวิจัย ถือเป็นขั้นตอนแรกของการสร้างงานวิจัย และอาจกล่าวได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากการกำหนดคำถามวิจัยที่ชัดเจนและดี ทำให้นักวิจัยสามารถกำหนดรูปแบบ วิธีการวิจัย อาจทำให้ประหยัดเวลาและทรัพยากร และดำเนินการวิจัยได้เหมาะสมและตรงประเด็นและเสร็จตามกำหนดระยะเวลา และสามารถสรุปและนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการ เชิงเศรษฐกิจ เชิงนโยบาย และเชิงวัฒนธรรมหรือสังคมต่อไป
สรุป
คำถามของการวิจัย (research question ) เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น (problem identification) และให้นิยามปัญหานั้น อย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้ ถ้าผู้วิจัย ตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ตัวก็ยังไม่แน่ใจ ว่าจะศึกษาอะไร ทำให้การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้
อ้างอิง
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921. เข้าถึงเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2555
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-4. เข้าถึงเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2555
http://www.sirirajmedj.com/content.php?content_id=89. เข้าถึงเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น