วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Considerations)


       images.takkatak.multiply.multiplycontent.com
        - นักวิจัยควรรับผิดชอบต่อผู้ร่วมวิจัยและสิ่งที่วิจัย
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จะต้องดำเนินการวิจัยอย่างระมัดระวังและรอบคอบทุกขั้นตอน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายและการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ้าเกิดการผิดพลาดขึ้นนักวิจัยจะต้องรับผิดชอบต่อผู้ร่วมงานไม่ว่าปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้ร่วมทีม ผู้ช่วยงานวิจัย หรือลูกจ้างก็ตาม อาสาสมัครที่เข้าร่วมต้องไม่ถูกกระทำเกินกว่าเหตุหรือความจำเป็น เช่น ต้องการเลือดเพียง 5มล. แต่นำไป 20 มล. และกระทำหลายครั้ง และควรจะมีสินน้ำใจ ค่าตอบแทน ค่าชดเชยแก่อาสาสมัคร เช่น ค่าเดินทาง การสูญเสียรายได้จากการวิจัยโดยตรง ค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่เกิดอันตราย เป็นเงินหรืออื่น ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม ไม่มากเกินไปจนเป็นการชักจูงเพื่อให้เข้าร่วมโครงการวิจัย
      - นักวิจัยควรรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูล
นักวิจัยควรเขียนรายงานการวิจัยเป็นภาพรวมและไม่ควรนำเอาข้อมูลหรือเรื่องราวของผู้ให้ข้อมูลไปเปิดเผยจนทำให้เกิดผลร้ายต่อผู้ให้ข้อมูล เพราะเนื่องจากข้อมูลบางข้อมูลอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อผู้ให้ข้อมูลนั้นได้ ควรเก็บรักษาข้อมูลในที่ที่ปกปิดมิดชิด และปลอดภัยจากบุคคลทั่วไปที่จะมาหยิบฉวยหรือค้นหาได้ 
       - นักวิจัยควรเคารพสิทธิส่วนบุคคล
ในการทำวิจัย นักวิจัยควรมีการเตรียมการป้องกันอันตราย ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการวิจัยและหลีกเลี่ยงการใช้กระบวนการวิจัยที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ที่ถูกวิจัย นักวิจัยควรแจ้งหรืออธิบายถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริง เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของเรื่องที่วิจัยและขั้นตอนต่างๆ ของการวิจัยรวมทั้งผลที่จะได้รับจากการวิจัยนั้นๆ อย่างแท้จริง ให้กับผู้ที่ถูกวิจัยทราบทั้งนี้ จะต้องได้รับความยินยอมความสมัครใจจากผู้ที่ถูกวิจัย โดยไม่มีการบีบบังคับขู่เข็ญหรือกดดันแต่อย่างใด ควรปกป้องสิทธิและเคารพในศักดิ์ศรีของอผู้ที่ถูกวิจัยกลุ่มเปราะบางและอ่อนแอ
        - นักวิจัยควรให้ข้อมูลตามความเป็นจริง
นักวิจัยหรือนักวิชาการจะต้องมีความซื่อตรงต่อการให้ข้อมูลและการรายงานผลการวิจัยอย่างตรงไปตรงมาตามสภาพความเป็นจริง ในขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ของการวิจัยที่ค้นพบโดยไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ค้นพบ ผู้ที่ถูกวิจัยต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องปฏิบัติและสิ่งที่เกิดขึ้นจากการวิจัยตามความจริงครบถ้วน เช่น ใช้ยาแล้วทำให้หายใจถี่ แน่นหน้าอก 
         - นักวิจัยควรวิจัยในเรื่องที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
ในการวิจัยแต่ละเรื่อง นักวิจัยควรคำนึงว่างานวิจัยที่ตนทำอยู่นั้นมีประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมมากน้อยเพียงใด และนำผลงานวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริงหรือไม่ ไม่ควรนำผลงานวิจัยนั้นไปใช้เพื่อทำลายผู้อื่น หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อกลุ่มของตนในทางมิชอบ
         - นักวิจัยควรมีความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัย
นักวิจัยจะต้องตระหนักถึงว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำงานวิจัยนั้นมากน้อยเพียงใด เพราะเนื่องจากกระบวนการทำวิจัยและขั้นตอนต่างๆ ในการทำวิจัยอาจก่อให้เกิดผลเสียหายตามมาภายหลังได้ หากทำการวิจัยหรือรายงานผลการวิจัยผิดพลาด ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานวิจัยเป็นไปอย่างมีประ-สิทธิภาพ นักวิจัยควรมีความรู้ความสามารถในการทำงานวิจัยนั้นๆ อย่างแท้จริง

 http://stc.arts.chula.ac.th/researchethics_chaichana.doc การทำผิดพลาดทางจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยนั้น ส่วนมากเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์มากกว่าที่จะเกิดจากเจตนาไม่ดี ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่พบบ่อยได้แก่ การไม่ตระหนักว่านอกเหนือจากปัญหาสุขภาพแล้วปัญหาเรื่องสิทธิก็สำคัญ เราเคยชินกับการให้การดูแลรักษาเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งในประเด็นนี้ บางกรณีเจตนาที่ดี ความเมตตากรุณาที่มีต่อผู้ป่วยอาจอยู่เหนือสิทธิของผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แต่ในกรณีของการวิจัยนั้นสิทธิของผู้เข้าร่วมวิจัยมีความสำคัญมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นการวิจัยใดก็ตามต้องถือว่าไม่ใช่การรักษา เพราะฉะนั้นผู้เข้าร่วมวิจัยมีสิทธิเต็มที่ในการเข้าหรือไม่เข้าร่วม ร่วมมือหรือถอนตัวได้ตลอดเวลา
ความไม่รู้ที่พบบ่อยอีกประการหนึ่งก็คือ หลักจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางประเด็นได้รับความสำคัญน้อย เช่น การเคารพศักดิ์ศรีของผู้เข้าร่วมวิจัย (Respect for person) ซึ่งแสดงออกทางหนึ่งจากการยินยอมตามที่ได้บอกกล่าว (Informed consent) ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องผู้เข้าร่วมวิจัยจากความเสี่ยงในการถูกละเมิดสิทธิอันเป็นผลมาจากการเข้าร่วมวิจัย
           http://thai.union.shef.ac.uk/Notice-Board/files/1e064542e1cb9aed2bfcd1e1d8340476-96.html
    1. การสร้างวัฒนธรรมยึดมั่นที่จะไม่แอบอ้างลอกเลียนความรู้ของผู้อื่น ว่าเป็นความคิดของตน   ที่เรามักใช้ศัพท์ว่า โจรกรรมวิชาการ” (plagiarism)   นี่เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในสังคมไทย   หากเราจะสร้างสังคมที่คนในสังคมเป็นผู้มีปัญญา มีความคิด มีวิจารณญาณของตนเอง เราต้องไม่ยอมให้ลูกของเรา หรือลูกศิษย์ของเราทำการบ้านโดยใช้วิธีค้น อินเทอร์เน็ต แล้วตัดปะ    วัฒนธรรมตัดปะคือวัฒนธรรมโจรกรรมวิชาการ    เวลานี้สังคมไทยเรากำลัง สอนลูกให้เป็นโจร กันอยู่โดยไม่รู้ตัว
    2. ความรับผิดชอบต่อสังคม   ที่จะไม่ใช้ทรัพยากรของสังคมในการทำงานวิจัยที่ไร้ประโยชน์ หรืองานวิจัยที่คุณภาพต่ำ ไม่น่าเชื่อถือ   ส่วนนี้น่าจะเป็นจริยธรรมของหน่วยงาน  ของวงการวิชาชีพ  ที่จะจัดระบบพัฒนาขีดความสามารถในการตั้งโจทย์วิ! จัย   พัฒนาวัฒนธรรมที่พิถีพิถันในการตั้งโจทย์วิจัย  คำหลักคือ วิจัยเพื่อสังคม  ไม่ใช่วิจัยเพื่อนักวิจัย   ไม่ใช่วิจัยเพื่อสถาบันวิจัย
     3. ความรับผิดชอบต่อสังคม   ที่จะไม่ใช้ทรัพยากรวิจัยของสังคมเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือคอรัปชั่น  ต้องไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากงบประมาณวิจัย   เช่นเอาไปเที่ยวต่างประเทศ  กำหนดในงบวิจัยที่จ้างบุคคลภายนอกดำเนินการให้ต้องซื้อของตอบแทนหน่วยงานหรือบุคคล
     4. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้กำหนดจรรยาบรรณนักวิจัยไว้ดังนี้ จรรยาบรรณนักวิจัยหมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐาน ของการศึกษาค้นคว้า ให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัย
          1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ   นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย และมีความเป็นธรรม เกี่ยวกับผลประโยชน์ ที่ได้จากการวิจัย
          2.นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณี ในการทำวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้ กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงาน ที่ตนสังกัด นักวิจัยต้องปฎิบัติตามพันธกรณี และข้อตกลงการวิจัย ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน อุทิศเวลาทำงานวิจัย ให้ได้ผลดีที่สุด และเป็นไปตามกำหนดเวลา มีความรับผิดชอบ ไม่ละทิ้งงาน ระหว่างดำเนินการ
          3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอ และมีความรู้ความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำ! ไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเพื่อป้องกัน ปัญหาการวิเคราะห์ การตีความ หรือ การสรุปที่ผิดพลาด อันอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ต่องานวิจัย
          4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต นักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืชศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึก และมีปณิธานที่จะอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
           5. นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย นักวิจัยต้องไม่คำนึงถึง ผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลย และขาดความเคารพในศักดิ์ศรี ของเพื่อนมนุษย์ ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัย แก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่ หลอกลวง หรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
           6. นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่า อคติส่วนตนหรือความลำเอียง ทางวิชาการ อาจส่งผลให้มีการบิดเบือ! นข้อมูล และข้อค้นพบทางวิชาการ อันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหายต่องา! นวิจัย
           7. นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และสังคมไม่ขยายผลข้อค้นพบ จนเกินความเป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัย ไปในทางมิชอบ
สรุป
        นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ   นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย และมีความเป็นธรรม เกี่ยวกับผลประโยชน์ ที่ได้จากการวิจัย
อ้างอิง
http://images.takkatak.multiply.multiplycontent.com.    เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555
http://stc.arts.chula.ac.th/researchethics_chaichana.doc. เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555
http://thai.union.shef.ac.uk/Notice-Board/files/1e064542e1cb9aed2bfcd1e1d8340476-96.html.  
เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น