วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

การรวบรวมข้อมูล (Data Collection)


         http://www.gotoknow.org/blogs/posts/396678   การเก็บรวบรวมข้อมูล(Data Collection) การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนการวิจัยที่ต่อเนื่องมาจากการกำหนดคำถามการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัยและสมมุติฐานการวิจัย  ทั้งนี้ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลจะมีประเด็นใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณา ได้แก่  แหล่งข้อมูลการวิจัย  เครื่องมือและวิธีการใช้เก็บรวบรวมข้อมูล  ตลอดจนการพัฒนาและเลือกใช้เครื่องมือ  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  ซึ่งมีสาระโดยสังเขปดังต่อไปนี้
แหล่งข้อมูลการวิจัย
            แหล่งข้อมูลการวิจัย  หมายถึง  แหล่งที่จะให้ข้อมูล หรือมีข้อมูลตามที่ผู้วิจัยต้องการ  อาจเป็นบุคคล  สิ่งของ  สัตว์ หรืออื่นๆ ก็ได้  แหล่งข้อมูลการวิจัยที่กล่าวนี้เมื่อนักวิจัยจะทำการเก็บรวบรวมก็ต้องคำนึงถึงลักษณะสำคัญสองส่วน คือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของแหล่งข้อมูล
          ประชากร (Population)  หมายถึง  ทุกสิ่ง ทั้งหมดหรือทุกหน่วยของแหล่งข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการศึกษารวบรวม
          กลุ่มตัวอย่าง (Sample group)  หมายถึง  ส่วนหนึ่งที่เป็นตัวแทนประชากรที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา
 เทคนิควิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
          1)  การเลือกแบบเครือข่ายหรือก้อนหิมะ (Network or snowball selection) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างเริ่มจากการเลือกบุคคล หรือกลุ่มที่เป็นตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด หลังจากนั้นให้ตัวอย่างหรือผู้เข้าร่วมการวิจัยบอกชื่อตัวอย่างเพิ่มที่คิดว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ให้ข้อมูลในเรื่องที่ผู้วิจัยต้องการจะทราบได้เป็นอย่างดี และให้บุคคลที่ถูกระบุชื่อหาผู้ที่คิดว่าจะให้ข้อมูลดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้รายชื่อที่ซ้ำๆ กัน จึงยุติการเลือกตัวอย่าง
          2)  การเลือกแบบครอบคลุม (Comprehensive selection) เริ่มจากนักวิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยที่กลุ่มตัวอย่างมักจะเป็นชุมชนหรือองค์กรหนึ่ง แล้วทำการศึกษารวบรวมข้อมูลตามประเด็นต่างๆ จากทุกๆ หน่วยของกลุ่มตัวอย่าง
          3)  การเลือกแบบโควตา หรือการกระจายสูง (Quota or maximum variation selection) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนจากประชากรกลุ่มย่อยๆ ให้ครบทุกกลุ่ม โดยเริ่มจากนักวิจัยกำหนดคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการซึ่งสอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่ศึกษาเพื่อกำหนดร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการแล้วจึงเลือกตามนั้น
          4)  การเลือกกรณีสุดโต่ง (Extreme case) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยกลุ่มตัวอย่างจะมีลักษณะแตกต่างจากลักษณะปกติทั่วไปอย่างชัดเจน แล้วจึงศึกษาตัวแปรต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวอย่างเพื่อทำความเข้าใจ อธิบายและเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างและความเหมือนกันของปรากฏการณ์นั้นกับกลุ่มที่มีลักษณะปกติ
          5)  การเลือกกรณีตามแบบทั่วไป (Typical case) มีลักษณะตรงกันข้ามกับกรณีสุดโต่ง นักวิจัยจะเลือกตัวอย่างที่มีคุณลักษณะตามที่บุคคลส่วนใหญ่มี นักวิจัยจะทำการกำหนดเกณฑ์คุณลักษณะ โดยพิจารณาให้เป็นเกณฑ์ที่มีลักษณะกลางๆ
          6)  การเลือกกรณีเฉพาะ (Unique case) เป็นการเลือกตัวอย่างที่มีคุณลักษณะบางประการเฉพาะตัวแตกต่างจากคุณลักษณะประชากรส่วนใหญ่
          7)  การเลือกกรณีเด่น (Reputational case) คือ การเลือกกรณีรู้จัก เลือกโดยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ศึกษาเสนอรายชื่อบุคคลที่ผู้วิจัยควรจะเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง
          8)  การเลือกกรณีตามแบบทั่วไปในอุดมคติ (Ideal Typical case) เป็นการผสมแนวคิดการเลือกกรณีตามแบบทั่วไปและการเลือกกรณีสุดโต่ง นักวิจัยจะกำหนดคุณลักษณะของตัวอย่างที่ต้องการให้เป็นไปในลักษณะสุดโต่ง ซึ่งเป็นคุณลักษณะตามอุดมคติ หลังจากนั้นก็เลือกตัวอย่างที่มีอยู่ในโลกความเป็นจริงโดยพยายามให้สอดคล้องกับคุณลักษณะในอุดมคตินั้น
          9)  การเลือกกรณีเปรียบเทียบ (Comparable case) นิยมใช้กับงายวิจัยเชิงคุณภาพที่มีแบบแผนการวิจัยที่เรียกว่า พหุพื้นที่ ซึ่งเป็นแบบแผนการวิจัยที่ใช้กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในพื้นที่ต่างกันเพื่อศึกษาปัญหาเดียวกัน และยังใช้สำหรับแบบแผนการวิจัยเชิงคุณภาพที่เรียกว่า พหุกรณี ซึ่งเป็นแบบแผนการวิจัยที่ศึกษากับตัวอย่างตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป โดยตัวอย่างนั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหรือร่วมกันสรุปคือการเลือกกรณีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาจากกรณีต่างๆ เป็นสำคัญ

         http://guru.sanook.com/encyclopedia การเก็บรวบรวมข้อมูล
         เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูล เราอาจดำเนินการเก็บรวบรวมด้วยตนเองหรืออาจนำเอาข้อมูลจากแหล่งที่มีผู้รวบรวมไว้แล้วมาใช้ก็ได้ ที่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมเองอาจเป็นเพราะข้อมูลที่เราต้องการใช้ไม่สามารถหาได้เลยไม่ว่าจากแหล่งใด หรือข้อมูลดังกล่าวพอหาได้แต่ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อถือได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจว่าจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองหรือไม่  คือเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน  โดยทั่วไปการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้มักจะต้องใช้คนดำเนินงานเป็นจำนวนมากด้วย ดังนั้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญๆ และมีขอบเขตกว้างขวาง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร การเกษตร อุตสาหกรรม คมนาคม เป็นต้น  หน่วยงานของรัฐบาลจึงเป็นผู้เก็บรวบรวมและพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว 
แหล่งที่มาของข้อมูล 
          ดังได้กล่าวมาแล้ว ผู้ที่มีความจำเป็นต้องการใช้ข้อมูลอาจดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง หรือเลือกใช้ข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้วก็ได้ เอกชนหรือองค์การของรัฐบาลซึ่งเป็นผู้เก็บรวบข้อมูล เมื่อพิมพ์ข้อมูลเหล่านั้นขึ้นเพื่อเอาไว้ใช้เอง หรือเพื่อเผยแพร่ก็ตาม จะได้รับการอ้างอิงว่าเป็นแหล่งปฐมภูมิ (Primary source) แต่ถ้าเอกชนหรือหน่วยงานใดจัดพิมพ์เอกสารโดยมีข้อมูลซึ่งได้นำมาจากเอกสารอื่นที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว เอกสารที่จัดพิมพ์นั้นได้ชื่อว่าเป็นแหล่งทุติยภูมิ (Secondary source) ของข้อมูลดังกล่าว ตัวอย่างเช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประชากรและเคหะในปีพ.ศ. 2523 และได้พิมพ์รายงานมีชื่อว่ารายงานสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2523 เช่นนี้ รายงานดังกล่าวได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปฐมภูมิ  ในเวลาต่อมาธนาคารแห่งหนึ่งได้นำข้อมูลแสดงจำนวนประชากรเป็นรายภาคจากรายงานสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2523 ไปพิมพ์ลงในวารสารรายเดือนของธนาคาร เช่นนี้ วารสารของธนาคารได้ชื่อว่าเป็นแหล่งทุติยภูมิของข้อมูลที่นำลงพิมพ์นั้น
         อย่างไรก็ตาม แหล่งปฐมภูมิมักแสดงรายละเอียดของข้อมูลไว้มากกว่าเพราะเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมาเอง ย่อมจะแสดงไว้ทั้งหมดทุกประเภทที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ส่วนแหล่งทุติยภูมิมักจะแสดงรายละเอียดไว้น้อยกว่า เพราะเลือกเอาแต่ข้อมูลชนิดที่เกี่ยวข้องกับงาน หรือที่สนใจเท่านั้นไปพิมพ์ไว้
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล 
          ในการดำเนินงานเก็บรวบรวมข้อมูล อาจแบ่งได้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ โดยการสังเกตและโดยการสอบถาม
          1. การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้เรียกว่าเป็นการดำเนินงานข้างเดียว เช่น การนับจำนวนผู้โดยสารรถประจำทางในช่วงเวลาหนึ่งตามสถานที่ต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร การนับจำนวนรถที่ผ่านด่านตรวจรถในช่วงเวลาต่างๆ เป็นต้น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อทราบข้อมูลบางอย่างก็ถือว่าเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต เช่น นักวิทยาศาสตร์คิดค้นหลอดไฟฟ้าชนิดใหม่แล้วนำหลอดไฟฟ้าเหล่านี้จำนวนหนึ่ง มาทดลองเปิดให้กระแสไฟฟ้าผ่านเพื่อทราบว่าจะให้แสงสว่างนานเท่าไร อายุการใช้งานของแต่ละหลอดไฟฟ้า คือข้อมูลที่เก็บรวบรวม
          2. การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้อาจแบ่งได้เป็น 3 ข้อย่อยด้วยกัน คือ
          2.1 โดยการสัมภาษณ์เป็นส่วนตัว วิธีนี้ได้แก่การซักถามโต้ตอบสนทนากัน จะเป็นโดยการพูดจาเห็นหน้ากัน หรือพูดจากันทางโทรศัพท์ก็ได้ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เป็นส่วนตัวนี้ เป็นวิธีที่ใช้กับการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญๆ โดยทั่วไป เช่น การทำสำมะโนประชากรและเคหะ การทำสำมะโนการเกษตร การสำรวจแรงงาน การสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร เป็นต้น ทั้งนี้เพราะผู้สัมภาษณ์ย่อมมีโอกาสอธิบายข้อถามให้ผู้ตอบสัมภาษณ์ได้เข้าใจแจ่มแจ้งและมีโอกาสซักถามเมื่อผู้ตอบตอบข้อความคลุมเครือ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้มีส่วนช่วยให้การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ข้อจริงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยลดข้อเท็จที่เกิดขึ้นจากการเข้าใจข้อถามผิด หรือเกิดขึ้นโดยมิได้เจตนาลงได้มาก
          2.2 โดยการส่งแบบข้อถามทางไปรษณีย์ วิธีนี้แม้จะมีข้อดีในแง่ที่เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานน้อย แต่ก็มีข้อเสียอยู่มากในด้านที่ผู้ตอบอาจเข้าใจคำถามไม่ถูกต้อง แล้วบันทึกข้อมูลที่ผิดวัตถุประสงค์ของข้อถามนั้น อนึ่งผู้ตอบบางคนก็ไม่สนใจกับข้อถาม ดังนั้นจึงปรากฏอยู่เสมอว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้มักได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาไม่ครบถ้วนเป็นจำนวนมาก และแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืน บางรายการก็ไม่ได้รับการบันทึก นอกจากนั้นข้อเสียของวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่สามารถใช้ได้กับชนทุกชั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่อ่านเขียนไม่ได้  ดังนั้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการส่งแบบข้อถามทางไปรษณีย์ จึงมีที่ใช้ค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ด้อยหรือกำลังพัฒนา ซึ่งประชากรของประเทศที่ยังอ่านเขียนไม่ได้มีอยู่เป็นจำนวนมาก
         2.3 โดยการลงทะเบียน วิธีนี้โดยมากประชาชนเป็นผู้ให้ข้อมูลตามกฎหมายโดยการบันทึกข้อมูลลงในทะเบียน  เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ได้จากหลักฐานการจดทะเบียนที่กองทะเบียนกรมตำรวจ ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิด การตาย การสมรส การหย่าร้าง ได้จากสำนักงานทะเบียนส่วนท้องถิ่น เป็นต้
การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data) 
          เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว ระเบียบวิธีสถิติขั้นต่อไปก็คือการนำเสนอข้อมูล การนำเสนอที่ดีมิได้หมายความว่าเป็นการเสร็จสิ้นของการดำเนินงานทางสถิติ แต่การนำเสนอที่ดีจะช่วยปูพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะข้อความจริงต่างๆ ตลอดจนการเปรียบเทียบข้อมูลจะได้รับการนำเสนอให้แลเห็นเด่นชัด ความเข้าใจของผู้ใช้สถิติในเรื่องการนำเสนอข้อมูล จะช่วยให้สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างฉลาดและถูกต้อง
         ในการนำเสนอข้อมูลอาจทำได้ทั้งอย่างไม่มีแบบแผนและอย่างมีแบบแผน การนำเสนออย่างไม่มีแบบแผน หมายถึงการนำเสนอที่ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรที่จะต้องถือเป็นหลักมากนัก  การนำเสนอแบบนี้ได้แก่การแทรกข้อมูลลงในบทความและข้อเขียนต่างๆ ส่วนการนำเสนออย่างมีแบบแผนนั้น เป็นการนำเสนอที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน ตัวอย่างการนำเสนอแบบนี้ได้แก่ การนำเสนอในรูปตาราง รูปกราฟ และรูปแผนภูมิ เป็นต้น
             http://www.thaigoodview.com/node/37681 การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนแรกของระเบียบวิธีวิจัย หรือกระบวนการทางสถิติ               
             - ข้อมูล (data) หมายถึง กลุ่มของข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นลักษณะของค่าของสิ่งที่สนใจศึกษา ที่บันทึกมาจากแต่ละหน่วยที่สังเกต(observation unit) อาจเป็นแต่ละราย เช่น คน ทัศนคติ เหตุการณ์         
              - ข้อมูลที่รวบรวมอาจมีหลายตัวแปร (variables) เช่น เพศ อายุ ความสูง น้ำหนัก ระดับความคิดเห็นการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย
       1. ประเภทของข้อมูล                                
       2. ประเภทของตัวแปร                              
       3. แหล่งข้อมูล                           
       4. ความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
       5.ทำไมต้องใช้ตัวอย่าง                      
       6.วิธีการสุ่มตัวอย่าง                        
       7.ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง                           
       8.การออกแบบสอบถามเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล                     
       9.และแบบฟอร์มการลงรหัสข้อมูล
ประเภทของข้อมูล
        1. แบ่งในแง่ทั่วไป                 
              - ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) หมายถึง ข้อมูลที่แสดงถึงสถานภาพ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติ มักเกี่ยวข้องกับตัวแปรที่แสดงกลุ่ม หมวดหมู่ (categorical variables) เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา                 
              - ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) หมายถึงข้อมูลที่อยู่ในรูปตัวเลข (numerical data) ที่แสดงถึงปริมาณ  อาจเป็นค่าไม่ต่อเนื่อง (discrete) คือ ค่าจำนวนเต็มหรือจำนวนนับ เช่น จำนวนบุตร หรือ ค่าต่อเนื่อง (continuos) คือ ค่าที่มีจุดทศนิยมได้ เช่น ความสูง น้ำหนัก อายุ อัตราเงินเฟ้อ2.แบ่งในแง่การศึกษา                                                                    
        1. ข้อมูลดิบ (Raw data หรือ ungrouped data)   คือ ข้อมูลที่เพิ่งได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล ยังไม่ได้จัดแบ่งกลุ่ม แยกประเภทและไม่อยู่ในรูปตารางความถี่ เช่น อายุ 18 19 25 30 35 40 45             
        2. ข้อมูลจัดกลุ่ม (Grouped data) คือ ข้อมูลดิบที่ถูกนำมาจัดกลุ่มแยกประเภทหรืออยู่ในรูปตารางแจกแจงความถี่เพื่อให้ง่ายในการศึกษาและการอธิบาย                        
         3. ข้อมูลแบ่งตามระดับการวัด (Level of Measurement)
              3.1 ระดับนามมาตรา (Nominal scaleข้อมูลที่มีมาตราวัดเป็นพวก เป็นประเภท เป็นกลุ่ม แต่ไม่สามารถจัดลำดับได้ โดยบอกได้แต่เพียงว่า พวกหนึ่งแตกต่างจากพวกหนึ่งอย่างไร ตัวอย่างตัวแปรระดับNominal      เพศ    ศาสนา   สถานภาพการสมรส  อาชีพ   มหาวิทยาลัย
เชื้อชาติ    จังหวัด
              3.2 ข้อมูลระดับลำดับมาตรา (Ordinal scale)
เป็นการวัดที่สามารถแบ่งเป็นพวกเป็นกลุ่มและยังสามารถจัดลำดับได้ด้วย ระยะห่างแต่ละหน่วยไม่เท่ากัน เช่น ทัศนคติ , เห็นด้วย เฉย ๆ ไม่เห็นด้วย   รายได้ , มาก ปานกลาง น้อย  ระดับการศึกษา มัธยมศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท   ความสูง สูง ปานกลาง ต่ำ   น้ำหนัก มาก ปานกลาง น้อย
ระบบการให้เกรด A B C D F    สถานะทางสังคม การประกวดนางงาม ขนาดชุมชน   อันดับเพลงยอดนิยม ลำดับที่สมัคร
              3.3 การวัดระดับช่วงมาตรา (Interval scale)ระดับการวัดที่สูงกว่าสองมาตรา มีคุณสมบัติเพิ่ม คือมีศูนย์สมมติ (arbitary zero point) มีระยะห่างแต่ละหน่วยเท่ากันบวก ลบ คูณ หาร ได้  แต่ไม่สามารถเปรียบเทียบข้อมูลเป็นจำนวนได้ เช่น  การวัดอุณหภูมิ หน่วยวัด เซลเซียส  ทัศนคติจากสเกลการวัด เช่น Likert  (1=ไม่เห็นด้วยอย่างมาก , 2=เห็นด้วย, 3=ไม่แน่ใจ, 4=เห็นด้วย, 5=เห็นด้วยอย่างยิ่ง)  Gpac เช่น 4.0 3.5 2.7 2.0 0(สมมติ)              
              3.4 การวัดระดับ อัตราส่วนมาตรา (Ratio scale)         
   - ระดับการวัดสูงสุด                                    
   - คุณสมบัติเชิงตัวเลขที่มีระยะห่างระหว่างหน่วยเท่ากัน         
   - เริ่มจากศูนย์แท้ หรือ ศูนย์สมบูรณ์ สามารถ บวก ลบ คูณ หาร        
   - เปรียบเทียบจำนวนระหว่างสองกลุ่มได้   

สรุป
          แหล่งข้อมูลการวิจัย  หมายถึง  แหล่งที่จะให้ข้อมูล หรือมีข้อมูลตามที่ผู้วิจัยต้องการ  อาจเป็นบุคคล  สิ่งของ  สัตว์ หรืออื่นๆ ก็ได้  แหล่งข้อมูลการวิจัยที่กล่าวนี้เมื่อนักวิจัยจะทำการเก็บรวบรวมก็ต้องคำนึงถึงลักษณะสำคัญสองส่วน คือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของแหล่งข้อมูล
          ประชากร (Population)  หมายถึง  ทุกสิ่ง ทั้งหมดหรือทุกหน่วยของแหล่งข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการศึกษารวบรวม
          กลุ่มตัวอย่าง (Sample group)  หมายถึง  ส่วนหนึ่งที่เป็นตัวแทนประชากรที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา

อ้างอิง
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/396678.   เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิการยน 2555
http://guru.sanook.com/encyclopediaเข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิการยน 2555
http://www.thaigoodview.com/node/37681เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิการยน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น