http://crc.ac.th/online/75106/20091117092414.doc
1. ประเภทของข้อมูล
1.1 ข้อมูลเชิงเนื้อหา ได้แก่ ข้อความ คำบรรยาย ลักษณะของสิ่งต่างๆ เช่น ความสวยของนางงามความฉลาดของปลาวาฬ ความใหญ่ของตึก
1.2 ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ตัวเลขต่างๆ ซึ่งจัดระดับได้ 3 ระดับ คือ
1.2.1 ตัวเลขที่บอกจำนวน เช่น กี่คน
1.2.2 ตัวเลขที่บอกลำดับที่ เช่นสอบได้ที่เท่าไหร่
1.2.3 ตัวเลขที่บอกควรเปรียบเทียบเ ช่น 30 คะแนน กับ 50 คะแนน
2. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
2.1 การจัดจำแนก เช่น หารจัดจำแนกตามความมาก ปานกลาง น้อย
2.2 การวิเคราะห์ แยกได้เป็น
2.2.1 ตามประเด็น เช่น เศรษบกิจ สังคม การศึกษา วัฒนธรรม การเมือง จิตวิทยา
2.2.2 ตามลำดับความสำคัญ เช่น สำคัญมากสุด ปานกลาง น้อย น้อยสุด
2.2.3 ตามกาลเวลา เช่น อดีต ปัจจุบัน หรือ ตาม พศ. ที่เหตุการณ์ณ์เหล่านั้นเกิดขึ้น
2.2.4 ตามกลุ่มบุคคล เช่น ผู้ใหญ่....... เด็ก
2.2.5 ตามสถานที่ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น
2.2.6 ตามปัญหา เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาโสเภณี ปัญหาแรงงาน
2.2.7 ตามวิธืแก้ไข เช่น แก้ไขโดยใช้ความรุนแรง แก้ไขโดยใช้ความนุ่มนวล
2.2.8 ตามตำแหน่งผู้ให้ข้อมูล เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัดนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
2.2.9 ตามวิธีรวบรวมข้อมูล เช่น ข้อมูลที่ได้จาการสอบถาม ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
2.2.10 ตามคำถามหรือสมมุติฐาน เช่น คำถามว่าปัจจัยอะไรสำคัญที่สุด หรือสมมุติฐานการวิจัยที่คาดว่าปัญหาน่าจะมาจาก ก, ข, ค
3. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ หรือ การใช้สถิติศาสตร์ มาเป็นเทคนิควิธีวิเคราะห์
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492737 การวิเคราะห์
ข้อมูล ( Data Analysis ) มีเป้าหมายเพื่อสรุปปัญหาที่ทำวิจัยไว้แล้วเป็นการ
พิสูจน์ความแท้จริงของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาใช้ และการตีความข้อมูล
(Interpretation ) นั้นคือกระบวนการวิจัย ( The research process ) เพื่อเรียนรู้
อะไร เพื่ออธิบาย ( Explanation ) สิ่งที่ได้มาคืออะไร และขยายความตาม
เหตุผลว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพื่อสรุปเป็นผลการศึกษาวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูลตามมุมคิดของรัตนะ บัวสนธ์ ( 2552 : 135-144 ) กล่าวไว้ทำนองว่า...คำถามแรกสุดที่นักวิจัยต้องตอบให้ได้คือข้อมูลเป็นแบบใด..? มี 2 อย่างคือ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ( Qualitative data ) และข้อมูลเชิงปริมาณ ( Quantitative data )
ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับมนุษย์ที่ไม่สามารถอธิบายได้เฉพาะหน้าในขณะนั้น เช่น ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ประเพณี วิถีการดำเนินชีวิต ลัทธิการปฏิบัติตนของกลุ่มคน มีความหมายแฝงอยู่ ต้องรู้จักจึงอธิบายความเร้นลับนี้ได้
ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลตรง นับเป็นจำนวนได้ เช่น จำนวนประชากรในหมู่บ้านนี้ อายุของกลุ่มชนนี้ เป็นต้น
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคม
หรือปรากฏการณ์อื่น ๆ เป็นการมุ่งอธิบายถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์
( ตัวแปร ) มีเงื่อนไขว่า...
1 . การวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มทำไปพร้อม ๆ กับการเก็บข้อมูล
2 . ต้องมีข้อมูลจากมุมมองของคนใน
3 . ต้องอาศัยสมมุติฐานชั่วคราว
4 . ผู้วิจัยต้องเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง
เงื่อนไขแรก ต้องยำข้อมูลค้นหาประเด็นที่ทำการวิจัยเป็นการมาวิเคราะห์ ตีความและสรุปไว้ตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีกจนได้ความแน่ชัดในข้อมูลที่ได้มา
เงื่อนไขที่สอง เป็นข้อมูลมุมคิดของคนใน ( คิดอย่างคนในกลุ่มนั้นคิด ) ข้อพึงระวัง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพต้องไม่มีมุมมองจากคนนอก ( อย่าใส่ความคิดให้คนใน )
เงื่อนไขที่สาม อย่าด่วนสรุปเพราะข้อมูลที่ได้ในเชิงคุณภาพแต่ละช่วงเวลามีเท้าเดินได้ จนแน่ใจแล้วบันทึกไว้เป็นข้อมูล
เงื่อนไขท้ายสุด ผู้รวบรวมข้อมูลหลักคือผู้วิจัยเองนั้นละที่ต้องวิเคราะห์เองสรุปเอง เออเอง
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
1 . การตรวจสอบข้อมูล สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า คือ
1 ) ด้านข้อมูล เพื่อดูความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
2 . ด้านผู้วิจัย เพื่อดูความเป็นกลางไม่ลำเอียง ดูจากนักวิจัยอื่น ๆ ที่ทำร่วมกันตรวจสอบข้อมูล
3 . ด้านทฤษฎี เพื่อยืนยันว่าแนวคิดทฤษฎีใดถูกต้องบ้าง
สำหรับการวิจัยทางไทยคดีศึกษานั้นเน้นไปเชิงคุณภาพและไม่นิยมใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ตามมุมคิดของณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์ ( 2551 : 223-224 ) ได้กล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้สถิติ ทำนองนี้ ดังนี้
1 . การวิเคราะห์เอกสาร ( Documentary Analysis ) ใช้ในการวิจัยเอกสารและวิเคราะห์เกี่ยวกับเนื้อหา ( content ) ในเอกสาร
2 . การวิเคราะห์โดยสังเกต โดยสังเกตพฤติกรรม / เหตุการณ์ที่อยู่ในสังคมแล้วผู้วิจัยแปลความหมายเอง สรุปความเอง วิเคราะห์เอง
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านสังคมศาสตร์นั้นต้องมีการเชื่อมโยงความรู้อื่น ๆ ดังนี้
1 . ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์
2 . ความรู้ด้านชุมชน สังคม วัฒนธรรม
3 . ความรู้ทางปรัชญาและศาสนาเพื่ออธิบายสรุปนามธรรมจากข้อมูลที่ปรากฏในรูปธรรมได้ด้วย
สรุป
การวิเคราะห์ข้อมูล ( Data Analysis ) มีเป้าหมายเพื่อสรุปปัญหาที่
ทำวิจัยไว้แล้วเป็นการพิสูจน์ความแท้จริงของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาใช้ และ
การตีความข้อมูล ( Interpretation ) นั้นคือกระบวนการวิจัย ( The research
process ) เพื่อเรียนรู้อะไร เพื่ออธิบาย ( Explanation ) สิ่งที่ได้มาคืออะไร
และขยายความตามเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น เพื่อสรุปเป็นผลการศึกษา
วิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูลตามมุมคิดของรัตนะ บัวสนธ์ ( 2552 : 135-144 ) กล่าวไว้ทำนองว่า...คำถามแรกสุดที่นักวิจัยต้องตอบให้ได้คือข้อมูลเป็นแบบใด..? มี 2 อย่างคือ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ( Qualitative data ) และข้อมูลเชิงปริมาณ ( Quantitative data )
ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับมนุษย์ที่ไม่สามารถอธิบายได้เฉพาะหน้าในขณะนั้น เช่น ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ประเพณี วิถีการดำเนินชีวิต ลัทธิการปฏิบัติตนของกลุ่มคน มีความหมายแฝงอยู่ ต้องรู้จักจึงอธิบายความเร้นลับนี้ได้
ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลตรง นับเป็นจำนวนได้ เช่น จำนวนประชากรในหมู่บ้านนี้ อายุของกลุ่มชนนี้ เป็นต้น
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคมหรือปรากฏการณ์อื่น ๆ เป็นการมุ่งอธิบายถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ ( ตัวแปร ) มีเงื่อนไขว่า...
1 . การวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มทำไปพร้อม ๆ กับการเก็บข้อมูล
2 . ต้องมีข้อมูลจากมุมมองของคนใน
3 . ต้องอาศัยสมมุติฐานชั่วคราว
4 . ผู้วิจัยต้องเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง
เงื่อนไขแรก ต้องยำข้อมูลค้นหาประเด็นที่ทำการวิจัยเป็นการมาวิเคราะห์ ตีความและสรุปไว้ตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีกจนได้ความแน่ชัดในข้อมูลที่ได้มา
เงื่อนไขที่สอง เป็นข้อมูลมุมคิดของคนใน ( คิดอย่างคนในกลุ่มนั้นคิด ) ข้อพึงระวัง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพต้องไม่มีมุมมองจากคนนอก ( อย่าใส่ความคิดให้คนใน )
เงื่อนไขที่สาม อย่าด่วนสรุปเพราะข้อมูลที่ได้ในเชิงคุณภาพแต่ละช่วงเวลามีเท้าเดินได้ จนแน่ใจแล้วบันทึกไว้เป็นข้อมูล
เงื่อนไขท้ายสุด ผู้รวบรวมข้อมูลหลักคือผู้วิจัยเองนั้นละที่ต้องวิเคราะห์เองสรุปเอง เออเอง
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
1 . การตรวจสอบข้อมูล สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า คือ
1 ) ด้านข้อมูล เพื่อดูความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
2 . ด้านผู้วิจัย เพื่อดูความเป็นกลางไม่ลำเอียง ดูจากนักวิจัยอื่น ๆ ที่ทำร่วมกันตรวจสอบข้อมูล
3 . ด้านทฤษฎี เพื่อยืนยันว่าแนวคิดทฤษฎีใดถูกต้องบ้าง
สำหรับการวิจัยทางไทยคดีศึกษานั้นเน้นไปเชิงคุณภาพและไม่นิยมใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ตามมุมคิดของณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์ ( 2551 : 223-224 ) ได้กล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้สถิติ ทำนองนี้ ดังนี้
1 . การวิเคราะห์เอกสาร ( Documentary Analysis ) ใช้ในการวิจัยเอกสารและวิเคราะห์เกี่ยวกับเนื้อหา ( content ) ในเอกสาร
2 . การวิเคราะห์โดยสังเกต โดยสังเกตพฤติกรรม / เหตุการณ์ที่อยู่ในสังคมแล้วผู้วิจัยแปลความหมายเอง สรุปความเอง วิเคราะห์เอง
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านสังคมศาสตร์นั้นต้องมีการเชื่อมโยงความรู้อื่น ๆ ดังนี้
1 . ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์
2 . ความรู้ด้านชุมชน สังคม วัฒนธรรม
3 . ความรู้ทางปรัชญาและศาสนาเพื่ออธิบายสรุปนามธรรมจากข้อมูลที่ปรากฏในรูปธรรมได้ด้วย
อ้างอิง
http://crc.ac.th/online/75106/20091117092414.doc เข้าถึงเมื่อ 25 ฟฤศจิการยน 2555
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492737 เข้าถึงเมื่อ 25 ฟฤศจิการยน 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น