วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

ภาคผนวก (Appendix)


        ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 392) ได้กล่าวว่าภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจรายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น และได้เห็นแบบอย่างหรือแนวทางการดำเนินงานในบางประการ ภาคผนวกมีหลายลักษณะซึ่งอาจนำเสนอแยกเป็นหมวดหมู่เป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ฯลฯ และอาจเรียงลำดับตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย 

          พรศรี ศรีอัษฎาพร, ยุวดี วัฒนานนท์ (2529 : 161) ได้กล่าวว่าภาคผนวกอาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีสิ่งใดที่มีความสำคัญ และไม่ต้องการให้สื่อความหมายหรือความเข้าใจไปพร้อมกับการอ่านรายงาน ให้นำไปใส่ไว้ในภาคผนวก เช่น แบบสอมถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือตารางบางตาราง

           ผศ.เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535 : 236) ได้กล่าวว่าภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง

สรุป        
ภาคผนวกคือข้อมูลในส่วนที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลต่างๆในงานวิจัยเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นโดยเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมเสนอในส่วนเนื้อหาหลักแต่นำมาใส่เอาใว้ในตอนท้ายของรายงานการวิจัยแทน เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล ฯลฯ

 อ้างอิง
ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์
                หนังสือราชภัฏพระนคร, 2544. เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2555
พรศรี ศรีอัษฎาพร, ยุวดี วัฒนานนท์สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.
                 กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช, 2529.เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2555
ผศ.เรืองอุไร ศรีนิลทาระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึก
                  อบรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2535.เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน
                  2555

เอกสารอ้างอิง (References)


         สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2538 : 441) กล่าวว่า เป็นส่วนที่เสนอรายชื่อบทความ เอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยได้รวบรวม อ่านและใช้ในการวิจัย หากมีเอกสารอ้างอิงทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยเป็นจำนวนมาก ควรแยกออกเป็น 2 ส่วน ระบุว่าเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ


          วัลลภ ลำพาย (2547 : 178) กล่าวว่า ส่วนนี้เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้น จัดลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย จัดลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ


         พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 389) กล่าวว่า เป็นรายชื่อเอกสารหนังสือ สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทั้งหมดที่ผู้วิจัยนำมาใช้ประกอบการเขียน ศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงในงานวิจัยของตน เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าการเขียนรายงานการวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยรวบรวมไว้ตอนท้ายของรายงานเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจได้ติดตามศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารเหล่านั้น

สรุป
                การเขียนรายงานการวิจัยเมื่อได้อ้างอิงแหล่งข้อมูลมาสนับสนุนในเนื้อเรื่องแล้ว เมื่อจบรายงาน การวิจัยจะต้องรบกวนหนังสือ เอกสารและหลักฐานที่เป็นแหล่งข้อมูลทั้งหมดไว้ด้วยกันท้ายรายงาน ซึ่งรายการหนังสือทั้งหลายที่รวบรวมไว้นี้ เรียกว่า บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง


อ้างอิง
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์
              หนังสือราชภัฏพระนคร.   เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2555
วัลลภ ลำพาย. (2547). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
               มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.  เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2555
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2538). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์
               ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ :สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.   เข้าถึงเมื่อ 
               26 พฤศจิกายน 2555

งบประมาณ (Budget)


        สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์ (2539 : 201 – 249)  ให้ความหมายไว้ คือ งบประมาณ หมายถึงแผนการดำเนินงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรขององค์การใดองค์การหนึ่ง สำหรับระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งในภายหน้า ซึ่งแผนการดำเนินงานนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผนระยะยาว เช่น งบประมาณที่มีระยะเวลา 3 ปี  5 ปี  หรือ 10  ปี หรืออาจจะเป็นแผนระยะสั้น  เช่น  งบประมาณรายเดือน 3 เดือน  6  เดือน  หรือ 1 ปี 

        กิ่งกนก พิทยานุคุณ (2527 : 152 – 160) ได้สรุปความหมายของงบประมาณ คือ การจำกัดวงเงินที่จะใช้งบประมาณประจำปี  เป็นการแสดงวัตถุประสงค์ที่ฝ่ายบริหารมีอยู่ในขณะนั้นออกมาเป็นตัวเลข รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงแผนการดำเนินงาน และวิธีการจัดหาเงินมาใช้ในองค์การ ในระหว่างปีด้วย
        อรชร  โพธิ (2545 : 210) กล่าวว่างบประมาณ  หมายถึงระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์  เป้าหมาย  และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การ   การจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร  และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานตามแผนนั้น ๆ

สรุป
              งบประมาณ หมายถึง แผนการดำเนินงานในการจัดหาเงินมาใช้ในกิจการ ซึ่งจะแสดงเป็นตัวเลข ในรูปของจำนวนหน่วยและจำนวนเงินที่จะใช้ดำเนินงาน  สำหรับระยะเวลาในภายหน้า การจัดทำงบประมาณจะจัดทำล่วงหน้า   ถ้าเป็นงบประมาณระยะสั้นก็จะมีระยะเวลา 3 เดือน  6 เดือน  หรือ  1 ปี   และถ้าเป็นงบประมาณระยะยาวจะมีระยะเวลา  3  ปี   5  ปี   การจัดทำงบประมาณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในทางการบริหาร   และเป็นที่ยอมรับสำหรับการช่วยตัดสินใจของผู้บริหารได้


อ้างอิง
กิ่งกนก   พิทยานุคุณ.(2554)  การบัญชีต้นทุน.  กรุงเทพ :โรงพิมพ์.
             มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อรชร  โพธิสุข.(2545). เอกสารการสอนการบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการ  
               จัดการ.  กรุงเทพ :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์.(2547).  การบัญชีต้นทุน  แนวคิดและการประยุกต์ 
              เพื่อการตัดสินใจเชิงการบริหาร.  กรุงเทพ : หจก. สยามเตชั่นเนอรี่      
             ซัพพลายส์.

การบริหารงานวิจัยและตารางการปฎิบัติงาน (Administration & Time Schedule)


พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง 

ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531 : 8) การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  โดยมีการวางแผน ดำเนินงานตามแผน และประเมินผลในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มแรกจนเสร็จสิ้นโครงการเป็นขั้นตอน ดังนี้
        1.  วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
        2.  กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
               2.1 ขั้นเตรียมการ
                 - ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
                 - ติดต่อผู้นำชุมชน
                 - การเตรียมชุมชน
                 - การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
                 - การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ
                 - การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
                 - การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
                 - การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
          2.2 ขั้นปฏิบัติงาน
                - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
                - ขั้นการเขียนรายงาน
    3. ทรัพยากรที่ต้องการของแต่ละกิจกรรมรวมทั้งเวลาที่ใช้
    4. การดำเนินงาน ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูลสำหรับการบริหารงานบุคคล จำเป็นต้องดำเนินการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ก. การจัดองค์กร เช่น การกำหนดหน้าที่ของคณะผู้ร่วมวิจัยแต่ละคนให้ชัดเจน การประสานงาน การสรรหาและการพัฒนาบุคคลากร เป็นต้น
ข. การสั่งงาน ได้แก่ การมองหมายงาน การควบคุม เป็นต้น
ค. การควบคุมการจัดองค์กร นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อใช้ในการสั่งการ และควบคุมคุณภาพของงานโดยอาจทำเป็น แผนภูมิการสั่งการเพื่อวางโครงสร้างของทีมงานวิจัย กำหนดขอบเขตหน้าที่ตลอดจนติดตามประเมินผลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือทำเป็นแผนภูมิเคลื่อนที่
ง. การควบคุมโครงการ เช่น ทำเป็นตารางปฏิบัติงานซึ่งเป็นตารางกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรมเพื่อช่วยให้การควบคุมเวลาและแรงงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจ ช่วยกระตุ้นให้ผู้วิจัยทำเสร็จทันเวลา ตารางปฏิบัติงานจะดูความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมที่จะปฏิบัติและระยะเวลาของแต่ละกิจกรรม โดยแนวนอนจะเป็นระยะเวลาที่ใช้ของแต่ละกิจกรรม ส่วนแนวตั้งจะเป็น กิจกรรมต่าง ๆที่ได้กำหนดไว้ จากนั้นจึงใช้แผนภูมิแท่งในการแสดงความสัมพันธ์นี้
จ. การนิเทศงาน ได้แก่ การแนะนำ ดูแล แก้ไขซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมงานให้มีประสิทธิภาพนั่นเอง

เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

สรุป
                การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง 

อ้างอิง
เสนาะ ติเยาว์หลักการบริหารพิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544. เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555
พรศักดิ์ ผ่องแผ้วศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย,2545.  เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555
ภิรมย์ กมลรัตนกุลหลักเบื้องต้นในการทำวิจัยกรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด, 2542.
เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555



อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข


สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538:6) กล่าวว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
          1. ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คน
สามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
          2. ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
          3. มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
          4. นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
          5. ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
        แนวทางการแก้ไข
         1. กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
         2. สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
         3. ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
         4. ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
          5. มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง
               
           ภิรมย์ กมลรัตนกุล(2531:8)กล่าวว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัยระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้
         แนวทางการแก้ไข
นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้
McLean,J.(1995:91) กล่าวว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน
 แนวทางการแก้ไข
อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว

สรุป
                การวิจัยมิใช่แต่การมุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับศาสตร์นั้นๆแต่เพื่อแก้ไข้ปัญหา การทำวิจัยเป็นนำเสนอข้อที่ถูกต้องและพิสูจน์มาแล้วว่าเชื่อถือได้สามารถนำมาใช้ แต่ถ้าผู้ทำวิจัยไม่เสนอข้อมูลจริงหรือยอมแพ้มองข้ามอุปสรรคที่เจอเป็นเรื่องเล็กน้อยงานวิจัยก็จะไม่ใช้งานวิจัยที่ถูกต้อง


อ้างอิง
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม.  (2538).หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการ
         วิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : คุรุสภา. 
ภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2531).  หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร:
          สำนักพิมพ์หอสมุดกลาง.   
สุวิมล ว่องวาณิช.  (2544).  การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร: 
          อักษรไทย.  
                



ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application)

     http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย เป็นความสำคัญของการวิจัยที่ผู้วิจัยพิจารณาว่าการวิจัยเรื่องนั้นทำให้ทราบผลการวิจัยเรื่องอะไร และผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร เช่น การระบุประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หรือนำไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพ หลักในการเขียนมีดังนี้
     1. ระบุประโยชน์ที่อาจเกิดจากผลที่ได้จากการวิจัย
     2. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และอยู่ในขอบเขตของการวิจัยที่ได้ศึกษา
     3. ในกรณีที่ระบุประโยชน์มากกว่า 1 ประการ ควรระบุเป็นข้อ
     4. เขียนด้วยข้อความสั้น กะทัดรัด ชัดจน
     5. การระบุนั้นผู้วิจัยต้องตระหนักว่ามีความเป็นไปได้

        http://images.arunratbam.multiply.multiplycontent.com  เป็นการย้ำถึงความสำคัญ ของการวิจัยนี้ โดยกล่าวถึง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัยอย่างชัดเจน ให้ครอบคลุมทั้งผลในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งผลทางตรงและทางอ้อม และควรระบุรายละเอียดว่าผลดังกล่าวจะเกิดกับใคร

        http://www.ipest.ac.th อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆหรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้งผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึ กอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้นก็อาจจะได้แก่จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงการนี้ส่วนผลกระทบ(impact)  โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้นมีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง

สรุป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย เป็นความสำคัญของการวิจัยที่ผู้วิจัยพิจารณาว่าการวิจัยเรื่องนั้นทำให้ทราบผลการวิจัยเรื่องอะไร และผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร เช่น การระบุประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หรือนำไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพ
อ้างอิง
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm.
เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555
http://images.arunratbam.multiply.multiplycontent.com/เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555
http://www.ipest.ac.th.   เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555




ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation)/ขอบเขตการวิจัย


       http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html ในการทำวิจัย มีคำอยู่ 3 คำที่ใช้กันแบบเรื่อยเปื่อย ขาดความเข้าใจที่ชัดเจน หรือให้ความสำคัญน้อยไป ได้แก่ ขอบเขต ข้อตกลงเบื้องต้น และข้อจำกัด
ขอบเขตของงานวิจัย( boundary of research problem ) มักพบเจอในการเขียนบทที่ 1 การกำหนดขอบเขตของการวิจัยนี้ เกี่ยวข้องใกล้ชิด กับการกำหนดปัญหาการวิจัยที่ชัดเจน ลักษณะของขอบเขตของการวิจัยมีประเด็นที่ควรกล่าวถึง ประกอบด้วย ขอบเขตด้านกลุ่มตัวอย่างหรือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ที่ต้องระบุว่ามีลักษณะเช่นใด เกี่ยวกับ ชาติพันธุ์ เพศ เศรษฐกิจและสังคมที่จะทำให้ผู้อ่านงานวิจัย หรือนักวิจัยเองทราบว่า การตีความข้อค้นพบหรือ ผลจากการวิจัย ทำภายในขอบเขตเช่นไร เช่น การวิจัยเพื่อสร้างโมเดล การออมเงินของ นักศึกษามหาวิทยาลัย ขอบเขตของการตีความก็อยู่ในบริบทของอายุ และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัย ขอบเขตด้านทฤษฎี อาจประกอบด้วยการระบุชื่อของทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง การตีความต้องอยู่บนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีนั้น ในงานวิจัยระดับปริญญาเอก โท ของหลายมหาวิทยาลัยเวลาระบุเกี่ยวกับขอบเขตไปใส่หัวข้อว่ากลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม นั้นเป็นการเขียนที่บอกข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขต แต่มิได้เป็นการระบุขอบเขตที่ควรทำเพราะให้ข้อมูลในระดับปฏิบัติการ มากการการให้ข้อมูลระดับconcept
            ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัยเช่น การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่านักวิจัยมีความเชื่อในสิ่งที่เป็นฐานคิดว่าอย่างไร เช่น ผู้วิจัยเลือกใช้การเก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพราะผู้วิจัยมีฐานคิดว่า “reality” อยู่ที่ความเชื่อ ความคิด ของผู้ให้ข้อมูล ดังนั้นการได้ข้อมูลต้องเข้าไปสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ให้ข้อมูล ต้องไปเข้าใจวิธีคิดของผู้ให้ข้อมูล

           ข้อจำกัด (limitation) เป็นการเขียนเมื่อผู้วิจัยทำวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว และพบ ผลจากการวิจัย(บนขอบเขตและข้อตกลงเบื้องต้นที่กล่าวไปแล้ว) ที่มีข้อจำกัดอื่น ๆหรือจุดอ่อนของการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่าน ผู้ใช้ผลงานวิจัย ได้พึงระวัง การเขียนข้อจำกัดของการวิจัยเขียน อาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับ ขอบเขต หรือข้อตกลงเบื้องต้นก็ได้ เช่น ผู้วิจัยสรุปว่า เจตคติต่อพฤติกรรมฯ เป็น สาเหตุหลักของ พฤติกรรมอนุรักษ์น้ำ ข้อจำกัดของงานวิจัยอยู่ที่ ผลการวิจัยนี้อาจไม่สามารถใช้ได้กับเด็กวัยรุ่นเพศชาย(ในขอบเขตได้กล่าวไว้ว่า เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้คือกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กวัยรุ่นทั้งหมด) ทั้งนี้เนื่องจากในการสุ่มตัวอย่างสุ่มได้กลุ่มเพศชายน้อย อาจมีผลต่อการทดสอบนัยสำคัญ และการประมาณค่าขนาดของความสัมพันธ์ ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการเก็บตัวอย่างในทั้ง 2 เพศให้เพียงพอ และทำการเปรียบเทียบขนาดความสัมพันธ์ด้วยหรือข้อจำกัดอาจไม่เกี่ยวข้องกับขอบเขต หรือ ข้อตกลงเบื้องต้น เลยก็ได้ แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของนักวิจัยก็ได้ เช่น การเก็บข้อมูลช่วงยาว มีตัวอย่างขาดหายไป 30% จากนโยบายของทางราชการ ผู้วิจัยก็จำเป็นต้องเขียนว่าการหายไปนี้จะส่งผลต่อการสรุปผลการวิจัยอย่างไร
          จำเรียง  กูรมะสุวรรณ (2529:162) กล่าวว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย 
           มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์ (2545:222) กล่าวว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการเขียนอธิบายว่าการวิจัยนี้มีข้อจำกัดอะไรที่ทำให้การศึกษาอาจไม่สมบูรณ์ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความรู้ของผู้วิจัยที่มีเกี่ยวกับหัวเรื่องที่ต้องการจะทำการศึกษา


สรุป
                ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย


อ้างอิง
http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html.  
เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555
จำเรียง  กูรมะสุวรรณ.  (2552)สถิติและการวิจัยเบื้องต้นกรุงเทพฯ:สาม
              เจริญพานิช.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา คหกรรมศาสตร์
              (2545).  สถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์นนทบุรี : มหาวิทยาลัย
              สุโขทัยธรรมาธิราช.

ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Considerations)


       images.takkatak.multiply.multiplycontent.com
        - นักวิจัยควรรับผิดชอบต่อผู้ร่วมวิจัยและสิ่งที่วิจัย
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จะต้องดำเนินการวิจัยอย่างระมัดระวังและรอบคอบทุกขั้นตอน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายและการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถ้าเกิดการผิดพลาดขึ้นนักวิจัยจะต้องรับผิดชอบต่อผู้ร่วมงานไม่ว่าปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้ร่วมทีม ผู้ช่วยงานวิจัย หรือลูกจ้างก็ตาม อาสาสมัครที่เข้าร่วมต้องไม่ถูกกระทำเกินกว่าเหตุหรือความจำเป็น เช่น ต้องการเลือดเพียง 5มล. แต่นำไป 20 มล. และกระทำหลายครั้ง และควรจะมีสินน้ำใจ ค่าตอบแทน ค่าชดเชยแก่อาสาสมัคร เช่น ค่าเดินทาง การสูญเสียรายได้จากการวิจัยโดยตรง ค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่เกิดอันตราย เป็นเงินหรืออื่น ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม ไม่มากเกินไปจนเป็นการชักจูงเพื่อให้เข้าร่วมโครงการวิจัย
      - นักวิจัยควรรักษาความลับของผู้ให้ข้อมูล
นักวิจัยควรเขียนรายงานการวิจัยเป็นภาพรวมและไม่ควรนำเอาข้อมูลหรือเรื่องราวของผู้ให้ข้อมูลไปเปิดเผยจนทำให้เกิดผลร้ายต่อผู้ให้ข้อมูล เพราะเนื่องจากข้อมูลบางข้อมูลอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อผู้ให้ข้อมูลนั้นได้ ควรเก็บรักษาข้อมูลในที่ที่ปกปิดมิดชิด และปลอดภัยจากบุคคลทั่วไปที่จะมาหยิบฉวยหรือค้นหาได้ 
       - นักวิจัยควรเคารพสิทธิส่วนบุคคล
ในการทำวิจัย นักวิจัยควรมีการเตรียมการป้องกันอันตราย ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการวิจัยและหลีกเลี่ยงการใช้กระบวนการวิจัยที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ที่ถูกวิจัย นักวิจัยควรแจ้งหรืออธิบายถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริง เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของเรื่องที่วิจัยและขั้นตอนต่างๆ ของการวิจัยรวมทั้งผลที่จะได้รับจากการวิจัยนั้นๆ อย่างแท้จริง ให้กับผู้ที่ถูกวิจัยทราบทั้งนี้ จะต้องได้รับความยินยอมความสมัครใจจากผู้ที่ถูกวิจัย โดยไม่มีการบีบบังคับขู่เข็ญหรือกดดันแต่อย่างใด ควรปกป้องสิทธิและเคารพในศักดิ์ศรีของอผู้ที่ถูกวิจัยกลุ่มเปราะบางและอ่อนแอ
        - นักวิจัยควรให้ข้อมูลตามความเป็นจริง
นักวิจัยหรือนักวิชาการจะต้องมีความซื่อตรงต่อการให้ข้อมูลและการรายงานผลการวิจัยอย่างตรงไปตรงมาตามสภาพความเป็นจริง ในขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ของการวิจัยที่ค้นพบโดยไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ค้นพบ ผู้ที่ถูกวิจัยต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องปฏิบัติและสิ่งที่เกิดขึ้นจากการวิจัยตามความจริงครบถ้วน เช่น ใช้ยาแล้วทำให้หายใจถี่ แน่นหน้าอก 
         - นักวิจัยควรวิจัยในเรื่องที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
ในการวิจัยแต่ละเรื่อง นักวิจัยควรคำนึงว่างานวิจัยที่ตนทำอยู่นั้นมีประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมมากน้อยเพียงใด และนำผลงานวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริงหรือไม่ ไม่ควรนำผลงานวิจัยนั้นไปใช้เพื่อทำลายผู้อื่น หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อกลุ่มของตนในทางมิชอบ
         - นักวิจัยควรมีความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัย
นักวิจัยจะต้องตระหนักถึงว่าตนเองมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำงานวิจัยนั้นมากน้อยเพียงใด เพราะเนื่องจากกระบวนการทำวิจัยและขั้นตอนต่างๆ ในการทำวิจัยอาจก่อให้เกิดผลเสียหายตามมาภายหลังได้ หากทำการวิจัยหรือรายงานผลการวิจัยผิดพลาด ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานวิจัยเป็นไปอย่างมีประ-สิทธิภาพ นักวิจัยควรมีความรู้ความสามารถในการทำงานวิจัยนั้นๆ อย่างแท้จริง

 http://stc.arts.chula.ac.th/researchethics_chaichana.doc การทำผิดพลาดทางจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยนั้น ส่วนมากเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์มากกว่าที่จะเกิดจากเจตนาไม่ดี ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่พบบ่อยได้แก่ การไม่ตระหนักว่านอกเหนือจากปัญหาสุขภาพแล้วปัญหาเรื่องสิทธิก็สำคัญ เราเคยชินกับการให้การดูแลรักษาเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งในประเด็นนี้ บางกรณีเจตนาที่ดี ความเมตตากรุณาที่มีต่อผู้ป่วยอาจอยู่เหนือสิทธิของผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แต่ในกรณีของการวิจัยนั้นสิทธิของผู้เข้าร่วมวิจัยมีความสำคัญมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นการวิจัยใดก็ตามต้องถือว่าไม่ใช่การรักษา เพราะฉะนั้นผู้เข้าร่วมวิจัยมีสิทธิเต็มที่ในการเข้าหรือไม่เข้าร่วม ร่วมมือหรือถอนตัวได้ตลอดเวลา
ความไม่รู้ที่พบบ่อยอีกประการหนึ่งก็คือ หลักจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางประเด็นได้รับความสำคัญน้อย เช่น การเคารพศักดิ์ศรีของผู้เข้าร่วมวิจัย (Respect for person) ซึ่งแสดงออกทางหนึ่งจากการยินยอมตามที่ได้บอกกล่าว (Informed consent) ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องผู้เข้าร่วมวิจัยจากความเสี่ยงในการถูกละเมิดสิทธิอันเป็นผลมาจากการเข้าร่วมวิจัย
           http://thai.union.shef.ac.uk/Notice-Board/files/1e064542e1cb9aed2bfcd1e1d8340476-96.html
    1. การสร้างวัฒนธรรมยึดมั่นที่จะไม่แอบอ้างลอกเลียนความรู้ของผู้อื่น ว่าเป็นความคิดของตน   ที่เรามักใช้ศัพท์ว่า โจรกรรมวิชาการ” (plagiarism)   นี่เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในสังคมไทย   หากเราจะสร้างสังคมที่คนในสังคมเป็นผู้มีปัญญา มีความคิด มีวิจารณญาณของตนเอง เราต้องไม่ยอมให้ลูกของเรา หรือลูกศิษย์ของเราทำการบ้านโดยใช้วิธีค้น อินเทอร์เน็ต แล้วตัดปะ    วัฒนธรรมตัดปะคือวัฒนธรรมโจรกรรมวิชาการ    เวลานี้สังคมไทยเรากำลัง สอนลูกให้เป็นโจร กันอยู่โดยไม่รู้ตัว
    2. ความรับผิดชอบต่อสังคม   ที่จะไม่ใช้ทรัพยากรของสังคมในการทำงานวิจัยที่ไร้ประโยชน์ หรืองานวิจัยที่คุณภาพต่ำ ไม่น่าเชื่อถือ   ส่วนนี้น่าจะเป็นจริยธรรมของหน่วยงาน  ของวงการวิชาชีพ  ที่จะจัดระบบพัฒนาขีดความสามารถในการตั้งโจทย์วิ! จัย   พัฒนาวัฒนธรรมที่พิถีพิถันในการตั้งโจทย์วิจัย  คำหลักคือ วิจัยเพื่อสังคม  ไม่ใช่วิจัยเพื่อนักวิจัย   ไม่ใช่วิจัยเพื่อสถาบันวิจัย
     3. ความรับผิดชอบต่อสังคม   ที่จะไม่ใช้ทรัพยากรวิจัยของสังคมเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือคอรัปชั่น  ต้องไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากงบประมาณวิจัย   เช่นเอาไปเที่ยวต่างประเทศ  กำหนดในงบวิจัยที่จ้างบุคคลภายนอกดำเนินการให้ต้องซื้อของตอบแทนหน่วยงานหรือบุคคล
     4. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้กำหนดจรรยาบรรณนักวิจัยไว้ดังนี้ จรรยาบรรณนักวิจัยหมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐาน ของการศึกษาค้นคว้า ให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัย
          1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ   นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย และมีความเป็นธรรม เกี่ยวกับผลประโยชน์ ที่ได้จากการวิจัย
          2.นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณี ในการทำวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้ กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงาน ที่ตนสังกัด นักวิจัยต้องปฎิบัติตามพันธกรณี และข้อตกลงการวิจัย ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน อุทิศเวลาทำงานวิจัย ให้ได้ผลดีที่สุด และเป็นไปตามกำหนดเวลา มีความรับผิดชอบ ไม่ละทิ้งงาน ระหว่างดำเนินการ
          3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอ และมีความรู้ความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำ! ไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเพื่อป้องกัน ปัญหาการวิเคราะห์ การตีความ หรือ การสรุปที่ผิดพลาด อันอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ต่องานวิจัย
          4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต นักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืชศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึก และมีปณิธานที่จะอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
           5. นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย นักวิจัยต้องไม่คำนึงถึง ผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลย และขาดความเคารพในศักดิ์ศรี ของเพื่อนมนุษย์ ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัย แก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่ หลอกลวง หรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
           6. นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่า อคติส่วนตนหรือความลำเอียง ทางวิชาการ อาจส่งผลให้มีการบิดเบือ! นข้อมูล และข้อค้นพบทางวิชาการ อันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหายต่องา! นวิจัย
           7. นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และสังคมไม่ขยายผลข้อค้นพบ จนเกินความเป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัย ไปในทางมิชอบ
สรุป
        นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ   นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย และมีความเป็นธรรม เกี่ยวกับผลประโยชน์ ที่ได้จากการวิจัย
อ้างอิง
http://images.takkatak.multiply.multiplycontent.com.    เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555
http://stc.arts.chula.ac.th/researchethics_chaichana.doc. เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555
http://thai.union.shef.ac.uk/Notice-Board/files/1e064542e1cb9aed2bfcd1e1d8340476-96.html.  
เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)


        http://crc.ac.th/online/75106/20091117092414.doc
1.  ประเภทของข้อมูล
     1.1  ข้อมูลเชิงเนื้อหา ได้แก่ ข้อความ คำบรรยาย ลักษณะของสิ่งต่างๆ เช่น ความสวยของนางงามความฉลาดของปลาวาฬ ความใหญ่ของตึก      
            1.2   ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ตัวเลขต่างๆ ซึ่งจัดระดับได้ 3 ระดับ คือ
1.2.1   ตัวเลขที่บอกจำนวน เช่น กี่คน
1.2.2   ตัวเลขที่บอกลำดับที่ เช่นสอบได้ที่เท่าไหร่
1.2.3    ตัวเลขที่บอกควรเปรียบเทียบเ ช่น 30 คะแนน กับ 50 คะแนน
2.  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
        2.1  การจัดจำแนก เช่น หารจัดจำแนกตามความมาก ปานกลาง น้อย
        2.2  การวิเคราะห์ แยกได้เป็น
       2.2.1  ตามประเด็น เช่น เศรษบกิจ สังคม การศึกษา วัฒนธรรม การเมือง จิตวิทยา
        2.2.2  ตามลำดับความสำคัญ เช่น สำคัญมากสุด ปานกลาง น้อย น้อยสุด
        2.2.3  ตามกาลเวลา เช่น อดีต ปัจจุบัน หรือ ตาม พศ. ที่เหตุการณ์ณ์เหล่านั้นเกิดขึ้น
        2.2.4  ตามกลุ่มบุคคล เช่น ผู้ใหญ่....... เด็ก
        2.2.5  ตามสถานที่ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น
        2.2.6  ตามปัญหา เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาโสเภณี ปัญหาแรงงาน
        2.2.7  ตามวิธืแก้ไข เช่น แก้ไขโดยใช้ความรุนแรง แก้ไขโดยใช้ความนุ่มนวล
      2.2.8 ตามตำแหน่งผู้ให้ข้อมูล เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัดนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
     2.2.9  ตามวิธีรวบรวมข้อมูล เช่น ข้อมูลที่ได้จาการสอบถาม ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
    2.2.10 ตามคำถามหรือสมมุติฐาน เช่น คำถามว่าปัจจัยอะไรสำคัญที่สุด หรือสมมุติฐานการวิจัยที่คาดว่าปัญหาน่าจะมาจาก ก, ข, ค
3.  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
        การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ หรือ การใช้สถิติศาสตร์ มาเป็นเทคนิควิธีวิเคราะห์

                http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492737 การวิเคราะห์
ข้อมูล ( Data  Analysis )  มีเป้าหมายเพื่อสรุปปัญหาที่ทำวิจัยไว้แล้วเป็นการ
พิสูจน์ความแท้จริงของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาใช้   และการตีความข้อมูล 
 (Interpretation ) นั้นคือกระบวนการวิจัย  ( The  research  process ) เพื่อเรียนรู้
อะไร  เพื่ออธิบาย  ( Explanation ) สิ่งที่ได้มาคืออะไร  และขยายความตาม
เหตุผลว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น  เพื่อสรุปเป็นผลการศึกษาวิจัย
         การวิเคราะห์ข้อมูลตามมุมคิดของรัตนะ  บัวสนธ์ ( 2552 : 135-144 ) กล่าวไว้ทำนองว่า...คำถามแรกสุดที่นักวิจัยต้องตอบให้ได้คือข้อมูลเป็นแบบใด..มี 2 อย่างคือ ข้อมูลเชิงคุณภาพ  ( Qualitative  data ) และข้อมูลเชิงปริมาณ  ( Quantitative  data )
         ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับมนุษย์ที่ไม่สามารถอธิบายได้เฉพาะหน้าในขณะนั้น  เช่น  ความรู้สึกนึกคิด  ความเชื่อ  ประเพณี  วิถีการดำเนินชีวิต  ลัทธิการปฏิบัติตนของกลุ่มคน  มีความหมายแฝงอยู่  ต้องรู้จักจึงอธิบายความเร้นลับนี้ได้
         ข้อมูลเชิงปริมาณ  เป็นข้อมูลตรง  นับเป็นจำนวนได้  เช่น  จำนวนประชากรในหมู่บ้านนี้  อายุของกลุ่มชนนี้  เป็นต้น
        การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ  อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคม
หรือปรากฏการณ์อื่น ๆ   เป็นการมุ่งอธิบายถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ 
( ตัวแปร ) มีเงื่อนไขว่า...
1 . การวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มทำไปพร้อม ๆ กับการเก็บข้อมูล 
2 . ต้องมีข้อมูลจากมุมมองของคนใน
3 . ต้องอาศัยสมมุติฐานชั่วคราว
4 . ผู้วิจัยต้องเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง
เงื่อนไขแรก  ต้องยำข้อมูลค้นหาประเด็นที่ทำการวิจัยเป็นการมาวิเคราะห์  ตีความและสรุปไว้ตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีกจนได้ความแน่ชัดในข้อมูลที่ได้มา
เงื่อนไขที่สอง  เป็นข้อมูลมุมคิดของคนใน  ( คิดอย่างคนในกลุ่มนั้นคิด ) ข้อพึงระวัง  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพต้องไม่มีมุมมองจากคนนอก ( อย่าใส่ความคิดให้คนใน )
เงื่อนไขที่สาม  อย่าด่วนสรุปเพราะข้อมูลที่ได้ในเชิงคุณภาพแต่ละช่วงเวลามีเท้าเดินได้  จนแน่ใจแล้วบันทึกไว้เป็นข้อมูล 
เงื่อนไขท้ายสุด  ผู้รวบรวมข้อมูลหลักคือผู้วิจัยเองนั้นละที่ต้องวิเคราะห์เองสรุปเอง  เออเอง
        ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
1 . การตรวจสอบข้อมูล  สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ  ใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า คือ
1 ) ด้านข้อมูล  เพื่อดูความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
2 . ด้านผู้วิจัย  เพื่อดูความเป็นกลางไม่ลำเอียง  ดูจากนักวิจัยอื่น ๆ ที่ทำร่วมกันตรวจสอบข้อมูล
3 . ด้านทฤษฎี  เพื่อยืนยันว่าแนวคิดทฤษฎีใดถูกต้องบ้าง
        สำหรับการวิจัยทางไทยคดีศึกษานั้นเน้นไปเชิงคุณภาพและไม่นิยมใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ  ตามมุมคิดของณรงค์  โพธิ์พฤกษานันท์ ( 2551 : 223-224 ) ได้กล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้สถิติ ทำนองนี้ ดังนี้
1 . การวิเคราะห์เอกสาร  ( Documentary  Analysis ) ใช้ในการวิจัยเอกสารและวิเคราะห์เกี่ยวกับเนื้อหา  ( content ) ในเอกสาร
2 . การวิเคราะห์โดยสังเกต  โดยสังเกตพฤติกรรม / เหตุการณ์ที่อยู่ในสังคมแล้วผู้วิจัยแปลความหมายเอง  สรุปความเอง วิเคราะห์เอง
        การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านสังคมศาสตร์นั้นต้องมีการเชื่อมโยงความรู้อื่น ๆ ดังนี้
1 . ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์
2 . ความรู้ด้านชุมชน  สังคม  วัฒนธรรม
3 . ความรู้ทางปรัชญาและศาสนาเพื่ออธิบายสรุปนามธรรมจากข้อมูลที่ปรากฏในรูปธรรมได้ด้วย

สรุป
          การวิเคราะห์ข้อมูล  ( Data  Analysis )  มีเป้าหมายเพื่อสรุปปัญหาที่
ทำวิจัยไว้แล้วเป็นการพิสูจน์ความแท้จริงของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาใช้   และ
การตีความข้อมูล  ( Interpretation ) นั้นคือกระบวนการวิจัย  ( The  research 
 process ) เพื่อเรียนรู้อะไร  เพื่ออธิบาย  ( Explanation ) สิ่งที่ได้มาคืออะไร
  และขยายความตามเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น  เพื่อสรุปเป็นผลการศึกษา
วิจัย
         การวิเคราะห์ข้อมูลตามมุมคิดของรัตนะ  บัวสนธ์ ( 2552 : 135-144 ) กล่าวไว้ทำนองว่า...คำถามแรกสุดที่นักวิจัยต้องตอบให้ได้คือข้อมูลเป็นแบบใด..มี 2 อย่างคือ ข้อมูลเชิงคุณภาพ  ( Qualitative  data ) และข้อมูลเชิงปริมาณ  ( Quantitative  data )
         ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับมนุษย์ที่ไม่สามารถอธิบายได้เฉพาะหน้าในขณะนั้น  เช่น  ความรู้สึกนึกคิด  ความเชื่อ  ประเพณี  วิถีการดำเนินชีวิต  ลัทธิการปฏิบัติตนของกลุ่มคน  มีความหมายแฝงอยู่  ต้องรู้จักจึงอธิบายความเร้นลับนี้ได้
         ข้อมูลเชิงปริมาณ  เป็นข้อมูลตรง  นับเป็นจำนวนได้  เช่น  จำนวนประชากรในหมู่บ้านนี้  อายุของกลุ่มชนนี้  เป็นต้น
        การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ  อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคมหรือปรากฏการณ์อื่น ๆ   เป็นการมุ่งอธิบายถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ ( ตัวแปร ) มีเงื่อนไขว่า...
1 . การวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มทำไปพร้อม ๆ กับการเก็บข้อมูล 
2 . ต้องมีข้อมูลจากมุมมองของคนใน
3 . ต้องอาศัยสมมุติฐานชั่วคราว
4 . ผู้วิจัยต้องเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง
เงื่อนไขแรก  ต้องยำข้อมูลค้นหาประเด็นที่ทำการวิจัยเป็นการมาวิเคราะห์  ตีความและสรุปไว้ตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีกจนได้ความแน่ชัดในข้อมูลที่ได้มา
เงื่อนไขที่สอง  เป็นข้อมูลมุมคิดของคนใน  ( คิดอย่างคนในกลุ่มนั้นคิด ) ข้อพึงระวัง  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพต้องไม่มีมุมมองจากคนนอก ( อย่าใส่ความคิดให้คนใน )
เงื่อนไขที่สาม  อย่าด่วนสรุปเพราะข้อมูลที่ได้ในเชิงคุณภาพแต่ละช่วงเวลามีเท้าเดินได้  จนแน่ใจแล้วบันทึกไว้เป็นข้อมูล 
เงื่อนไขท้ายสุด  ผู้รวบรวมข้อมูลหลักคือผู้วิจัยเองนั้นละที่ต้องวิเคราะห์เองสรุปเอง  เออเอง
        ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
1 . การตรวจสอบข้อมูล  สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ  ใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า คือ
1 ) ด้านข้อมูล  เพื่อดูความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
2 . ด้านผู้วิจัย  เพื่อดูความเป็นกลางไม่ลำเอียง  ดูจากนักวิจัยอื่น ๆ ที่ทำร่วมกันตรวจสอบข้อมูล
3 . ด้านทฤษฎี  เพื่อยืนยันว่าแนวคิดทฤษฎีใดถูกต้องบ้าง
        สำหรับการวิจัยทางไทยคดีศึกษานั้นเน้นไปเชิงคุณภาพและไม่นิยมใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ  ตามมุมคิดของณรงค์  โพธิ์พฤกษานันท์ ( 2551 : 223-224 ) ได้กล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้สถิติ ทำนองนี้ ดังนี้
1 . การวิเคราะห์เอกสาร  ( Documentary  Analysis ) ใช้ในการวิจัยเอกสารและวิเคราะห์เกี่ยวกับเนื้อหา  ( content ) ในเอกสาร
2 . การวิเคราะห์โดยสังเกต  โดยสังเกตพฤติกรรม / เหตุการณ์ที่อยู่ในสังคมแล้วผู้วิจัยแปลความหมายเอง  สรุปความเอง วิเคราะห์เอง
        การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านสังคมศาสตร์นั้นต้องมีการเชื่อมโยงความรู้อื่น ๆ ดังนี้
1 . ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์
2 . ความรู้ด้านชุมชน  สังคม  วัฒนธรรม
3 . ความรู้ทางปรัชญาและศาสนาเพื่ออธิบายสรุปนามธรรมจากข้อมูลที่ปรากฏในรูปธรรมได้ด้วย
อ้างอิง
http://crc.ac.th/online/75106/20091117092414.doc    เข้าถึงเมื่อ 25 ฟฤศจิการยน 2555
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492737     เข้าถึงเมื่อ 25 ฟฤศจิการยน 2555