ณัชชากัญญ์( http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) กล่าวไว้ว่า
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ทิศนา แขมมณี
ผู้รวบรวม ศาสตราจารย์ ดร. ชัยอนันต์
สมุทวณิช(วชิราวุธวิทยาลัย,
2541 ก, 8-13)
กล่าวไว้ว่า
การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเองจะประสบผลสำเร็จได้มากน้อยเพียงใด
มักขึ้นกับบทบาทของครู ครูจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนให้สอดคล้องกับแนวคิด
ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียนเกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในด้านการประเมินผลการเรียนรู้นั้นจำเป็นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงาน
และกระบวนการหรืออาจประเมินโดยใช้แฟ้มผลงานเป็นต้น
http:/www.supanida-opal.blogspot.com/2009/02/constructivismconstructionism.html ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมากจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ของเพียเจต์ (Piaget) ทฤษฎี
Constructionism
พัฒนาโดย Seymour
Papert แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massacchusetts Institute of Technology)
แนวคิดของทฤษฎีนี้ เชื่อว่า
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและต้วยตนเองของผู้เรียน
หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลก
ก็หมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นในตนเองนั่นเอง
ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้ จะมีความหมายต่อผู้เรียนจะอยู่คงทน
ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย และจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี
นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
http://www.niteslink.net/
แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง
หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย
เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต
การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
สรุป
หลักการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการสร้างงาน
ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ
ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สัมผัสและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกในกลุ่ม โดยครูผู้สอนจะต้องสร้างให้เกิดองค์ประกอบครบทั้ง3
ประการ คือ 1) ให้ผู้เรียนได้ลงมือประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง (ได้สร้างงาน)
ตามความสนใจ ตามความชอบหรือความถนัด ของแต่ละบุคคล 2)
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภายใต้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี 3)
มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ที่มา
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://www.supanida-opal.blogspot.com/2009/02/constructivismconstructionism.html เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2555
http://www.niteslink.net/ เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น