ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ(http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า
จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก
ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ
ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา (http://surinx.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า
จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องโดย การฝึกเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย
ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น
นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2
กลุ่ม ย่อย คือ
1.กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline)
2.ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline)
ทิศนา แขมมณี (2554 : 45-48)
กล่าวไว้ว่าการฝึกจิตหรือสมองหรือสติปัญญาสามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึกมีแนวคิดแยกออกเป็น
2 กลุ่มย่อย คือ
1.1.1 กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้
ก. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน การฝึกสมองให้เป็นระเบียบ
1.1.2 ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์มีความเชื่อดังนี้
ก. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
เกิดจากความสามารถ
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน การพัฒนาผู้เรียนโดยการกระตุ้นสรุป ทฤษฎีที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง
นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า จิต หรือสมอง สามารถฝึกพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้ ซึ่งฝึกโดยการคิด เรียนรู้ในสิ่งยากๆ ซ้ำๆ
จะทำให้จิตแข็งแรงมากขึ้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
สรุป ทฤษฎีที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง
นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่า จิต หรือสมอง สามารถฝึกพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้ ซึ่งฝึกโดยการคิด เรียนรู้ในสิ่งยากๆ ซ้ำๆ
จะทำให้จิตแข็งแรงมากขึ้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
ที่มา
http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486 เข้าถึงเมื่อ 6 กรกฎาคม 2555
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 45-48
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น